กรุณาใส่ข้อมูลของท่านต

Work Group 1 

 หา Slope 4 เส้น จากแผ่นที่ บ้านหญ้าปล้อง

มาตรส่วน 1 : 50,000

(map1) 2009118_30846.jpg  

จุดที่ 1 จากตำแหน่ง A ไป B 

(map1) 2009118_30938.jpg 

จุดที่ 2 จากตำแหน่ง C ไป D 

 (map1) 2009118_30151.jpg

จุดที่ 3 จากตำแหน่ง E ไป F 

 (map1) 2009118_30755.jpg

จุดที่ 4 จากตำแหน่ง G ไป H

(map1) 2009118_30251.jpg

 

ตารางการคำนวณ

#

From - To

Y(m)

X(cm)

X(m)

Y: X

1

A - B

200

 3.3

 1650

 

614876 - 606879

2

C - D

200

 2.2

 1100

 

596700 - 589708

3

E - F

400

 2.0

 1000

 

637723 - 629728

4

G - H

500

 1.9

 950

 

501789 - 513783

 

 

 

Work Group 2

 (1) 2009118_33708.jpg

(1) 2009118_34141.jpg

(1) 2009118_34233.jpg

(1) 2009118_34476.jpg

(1) 2009118_34566.jpg

1.  สถานภาพ

1.1 ทรัพยากรแร่จังหวัดอุบลราชธานีมีทรัพยากรแร่ที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่ พลอย หินอุตสาหกรรม       แหล่งเกลือหิน และแหล่งทราย (รูปที่ 1)

1.1.1 พลอย ส่วนใหญ่เป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงินปนเขียว และเขียวปนเหลือง แหล่งพลอยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด บริเวณรอยต่อระหว่างอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

1.1.2 หินอุตสาหกรรม มีแหล่งหินตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม 1 แหล่ง ในเขตอำเภอน้ำยืน ซึ่งเป็นหินบะซอลต์ มีเนื้อที่ 8,750 ไร่ ปริมาณทรัพยากรประมาณ 33 ล้านตัน และมี   ผู้ประกอบการเหมืองหิน 10 ราย

1.1.3 ทราย แหล่งทรายแม่น้ำในจังหวัดเกิดจากการผุพังของหินทรายและถูกพัดพามาสะสมตัว  ตามลำห้วยและแม่น้ำ เช่น ลำโดมใหญ่ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ลำเซบาย ความหนาของชั้นทรายประมาณ 2-3 เมตร มีผู้ประกอบการดูดทรายทั้งสิ้น 27 ราย ในเขต 6 อำเภอ คือ อำเภอเมือง    สว่างวีระวงศ์ เขื่องใน เดชอุดม ศรีเชียงใหม่ และกิ่งอำเภอนาตาล สำหรับการดูดทรายจากแม่น้ำโขงในเขตจังหวัดอุบลราชธานีมีเพียงเล็กน้อย กระบวนการดูดทรายและคัดแยกสิ่งปนเปื้อนทรายทำให้เกิดน้ำขุ่นข้นในแม่น้ำ       ส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำและการประกอบอาชีพของประชาชน เช่น การเลี้ยงปลา  ในกระชัง นอกจากนั้นบางแห่งมีการพังทลายของตลิ่งในบริเวณใกล้เคียงกับสถานประกอบการ      แต่ปัญหาไม่รุนแรงนัก 

1.1.4 เกลือหิน พื้นที่ด้านตะวันตกของจังหวัดในเขตอำเภอเมือง ตระการพืชผล         ม่วงสามสิบ และเขื่องใน รองรับด้วยชั้นเกลือหิน โดยข้อมูลหลุมเจาะสำรวจพบเกลือหินที่ระดับ   ความลึกประมาณ 110-160 เมตร มีความหนาประมาณ 36 เมตร ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด โดยเฉพาะเขตติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษและยโสธร พบพื้นที่ดินเค็มเป็นหย่อมๆ เนื่องจากมีชั้นเกลือหินรองรับอยู่ และบางแห่งเกลือหินแทรกดันตัวขึ้นมาเป็นโดม ทำให้ถูกละลายและแพร่ไปสู่พื้นที่ลุ่มท้ายน้ำได้ง่าย รวมพื้นที่ดินเค็มประมาณ 1.9 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ดินเค็มจัด 0.01 ล้านไร่ ดินเค็มปานกลาง 0.2 ล้านไร่ และดินเค็มน้อย 1.7 ล้านไร่

 1.2  ธรณีพิบัติภัย 

1.2.1 พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในจังหวัดอุบลราชธานีอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด (รูปที่ 2) มีหมู่บ้านที่กำหนดให้เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มจำนวน 19 หมู่บ้าน ในเขตอำเภอน้ำยืน นาจะหลวยและบุณฑริก (รูปที่ 3)

1.3  แหล่งอันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา

1.3.1  เสาเฉลียงและผาแต้ม อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม  เสาเฉลียง ลักษณะเป็นแท่งเสาหินขนาดใหญ่ ตั้งเรียงราย รูปร่างคล้ายดอกเห็ดบาน มีความสูงต่างๆ กัน เกิดจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลมในชั้นหินที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบ และแต่ละชั้นมีส่วนประกอบทางแร่ที่แตกต่างกันจึงทำให้มีความทนทานต่อการกัดกร่อนไม่เท่ากัน (รูปที่ 4) ผาแต้ม เป็นหน้าผาสูงชันขนาดใหญ่วางตัวขนานกับแนวแม่น้ำโขง เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลก รวมทั้งการกัดเซาะของแม่น้ำโขงในแนวดิ่งมากกว่าแนวราบในช่วงแรก และกัดเซาะส่วนล่างขยายออกในแนวราบมากกว่าแนวดิ่งภายหลัง ทำให้ชั้นหินริมหุบพังทลายลงมา เกิดเป็น   หน้าผา ความสูงประมาณ 250-300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล บริเวณหน้าผาพบภาพเขียนสี     ก่อนประวัติศาสตร์มากกว่า 300 ภาพ เรียงรายตามความยาวของหน้าผาติดต่อกันประมาณ        180 เมตร บริเวณชั้นบนสุดเป็นลานหินกว้าง (รูปที่ 5)

1.3.2    แก่งตะนะ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ บริเวณรอยต่อระหว่างตำบล        คำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร และตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม มีลักษณะเป็นโขดหินทรายขนาดใหญ่กลางลำน้ำมูล เหนือแก่งขึ้นไปมีสันดอนทรายวางตัวอยู่กลางลำน้ำ เรียกว่า “ดอนตะนะ” แก่งตะนะเกิดจากการไหลของลำน้ำมูลอ้อมดอนตะนะ ผ่านชั้นหินแข็งกลางลำน้ำ แต่ไม่สามารถกัดกร่อนชั้นหินให้หลุดออกไปได้ทั้งหมด ส่วนที่คงทนเหลือไว้เป็นแก่งที่เห็นในปัจจุบัน (รูปที่ 6)

2. แผนงาน/โครงการที่ดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 - ไม่มี

3.  ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 - ไม่มี

4.  โครงการที่คาดว่าจะดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - ไม่มี

รงนี้ค่ะ!

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...